ความเป็นมา
จากปัญหาการทุจริตที่ผ่านมา มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งที่ ๖๙ /๒๕๕๗ เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในหน่วยงาน โดยมุ่งการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบ รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการทุจริต ซึ่งได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ
โดยรัฐบาลได้เสริมสร้างกลไกขับเคลื่อนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต ขึ้นมา ๓ ระดับคือ คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เป็นกลไกระดับนโยบาย มีนายกรัฐมนตรี /หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน กรรมการจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติให้เป็นกลไกขับเคลื่อนภาพรวมประดับประเทศ และกลไกระดับปฏิบัติการ โดยการออกมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ซึ่งประจำอยู่ทุกส่วนราชการระดับกระทรวง หรือเทียบเท่า ปัจจุบันมีจำนวน 35 ศูนย์ ให้เป็นกลไกประสานงาน กำกับ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย ข้อสั่งการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต กับหน่วยงานภายใต้กำกับทั้งหมด ซึ่งได้แก่หน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รวมทั้ง รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เป็นกลไกขับเคลื่อนประสาน กำกับ ติดตามผลการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ในฐานะที่สำนักงาน ป.ป.ท. เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต มีบทบาท ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และด้านคุ้มครองจริยธรรม ดังนี้
Anti-Corruption Operation Centre
Background
Since corruption has been a severe problem in Thailand, on 18 June 2014, the National Committee of Peace and Order (NCPO) issued an Order No.69/2014 on “Measures to Prevent Corruption and Misconduct” assigning all government and state agencies to define the measures and procedures to prevent and eliminate corruption and misconduct in their organisations. The order focused on building good governance at work and encouraging all relevant sectors to participate in inspecting and monitoring government activities in order to prevent corruption in the public sector. A strong focus on combating corruption is vital, the Royal Thai Government, therefore, held the war on corruption as a national agenda.
RTG has strengthened the 3 level mechanisms to prevent and eliminate corruption as follows;
Recently, there are 35 Anti-Corruption Operation Centres to coordinate, direct, monitor, and report agencies’ anti-corruption performance. These agencies are from central, regional and local as well as state enterprises and public organisations. PACC as the secretary to the National Anti-Corruption Committee is regarded as a mechanism to coordinate, direct and monitor the activities of Anti-Corruption Operation Centres’ operation.
Roles, missions and authorities of the Anti-Corruption Operation Centre to prevent and suppress corruption and misconduct and protect ethics are as follows;
อำนาจหน้าที่ กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
๑. ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลสภาพปัญหา เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการ แนวทางการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการเสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการ
๒. จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ
๓. ให้คำปรึกษาแนะนำ ประสานงาน เร่งรัด กำกับและติดตาม ให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง ดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
๔. รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสานติดตามอย่างต่อเนื่องจนได้ข้อยุติ
๕. เป็นกลไกการปฏิบัติหรือประสานการปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) สำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามที่ ศอตช. มอบหมายและกำกับติดตามการดำเนินการตามมติ-
ข้อสั่งการ ของ คตช. ที่เกี่ยวข้อง
๖. ทำการตรวจสอบเปรียบเทียบผลการดำเนินการปกครอง วินัยของหน่วยงานในสังกัด เสนอความเห็นต่อปลัดกระทรวงหรือรัฐมนตรีแล้วแต่ละกรณี แล้วแจ้งให้ศอตช. ทราบ
๗. เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในส่วนราชการ
๘. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในส่วนราชการ
๙. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการส่งสำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Role, Mission, Power and Duties of the Prevention and Suppression of Corruption and Misconduct Unit
อำนาจหน้าที่ กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม
๑. คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และประมวลจริยธรรมอื่นๆ
๒. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ
๓. ประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี แผนงาน/โครงการ ตลอดจนบูรณาการแผนงาน/โครงการเกี่ยวกับการคุ้มครองจริยธรรม การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการ และเสริมสร้างวินัยของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง
๔. รวบรวมปัญหาการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงประมวลจริยธรรมต่อสำนักงาน ก.พ.
๕. ติดตาม ประเมินผลการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จรรยาข้าราชการ การเสริมสร้างวินัย และการดำเนินการตามประมวลจริยธรรมข้าราชการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนเสนอหัวหน้าส่วนราชการ และส่งผลการดำเนินการให้กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาพรวมของส่วนราชการ
Role, Mission, Power and Duties of Ethics Protection Unit