1. ใช้ถ้อยคำหรือข้อความที่สุภาพ และต้องมี
• วัน เดือน ปี
• ชื่อ ที่อยู่ของผู้ร้องพร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ อีเมลที่สามารถติดต่อถึงผู้ร้องเรียนได้
• ชื่อและหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่เป็นเหตุแห่งการร้องเรียน
• พฤติการณ์ที่เป็นเหตุแห่งการร้องเรียน พร้อมทั้งข้อเท็จจริง หรือชี้ช่องทางเบาะแสการทุจริตของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจนเพื่อให้นำไปดำเนินการต่อได้
• ระบุ พยาน เอกสาร พยานวัตถุ และพยานบุคคล (ถ้ามี)
2. เรื่องร้องเรียนต้องเป็นเรื่องจริงที่มีมูลเหตุ มิได้หวังสร้างกระแสหรือสร้างข่าวที่เสียหายต่อบุคคล
3. การร้องเรียนต้องสามารถติดต่อกลับไปยังผู้ร้องเรียนได้ เพื่อยืนยันว่ามีตัวตนจริง ไม่ได้สร้างเรื่องเพื่อกล่าวหาบุคคลอื่นให้เกิดความเสียหาย
4. เป็นเรื่องที่ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปง. ในกรณีกระทำผิดต่อหน้าที่ราชการ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ละเลยหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร กระทำการนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือขัดหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
5. เรื่องร้องเรียนที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่เพียงพอ ขาดหลักฐานที่ปรากฏชัดแจ้ง หรือไม่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมในการดำเนินการตรวจสอบ สืบสวน สอบสวน ข้อเท็จจริงรายละเอียดตามข้อ 1 ได้จะยุติเรื่องทันที และไม่เป็นเรื่องร้องเรียนที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้
• เรื่องร้องเรียนที่เป็นบัตรสนเท่ห์ เว้นแต่บัตรสนเท่ห์นั้นจะระบุรายละเอียดตามข้อ 1 จึงจะรับไว้พิจารณาเป็นการเฉพาะเรื่อง
• เรื่องร้องเรียนที่หน่วยงานอื่นได้ดำเนินการตรวจสอบพิจารณาวินิจฉัยและได้มีข้อสรุปผลการพิจารณาเป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว
• เรื่องร้องเรียนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว หรือเป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำสั่งพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยื่นร้องเรียนต่อสำนักงาน ปปง. เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด และขอรับผิดชอบต่อข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นทุกประการ การนำความเท็จมาร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายอาจเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ยินยอม
ไม่ยินยอม