Insite bigbanner

อำนาจหน้าที่

UPDATE 30 ก.ย. 2565

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

   
     สํานักงาน ปปง. เป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ปฏิบัติหน้าที่ โดยอิสระและเป็นกลาง มีอํานาจหน้าที่ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ดังต่อไปนี้ 
     (1) ดําเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ คณะกรรมการธุรกรรมและปฏิบัติงาน ธุรการอื่น 
     (2) รับรายงานการทําธุรกรรมที่ส่งให้ตามหมวด 2 และแจ้งตอบการรับรายงาน รวมทั้ง การรับรายงานและข้อมูลเกี่ยวกับการทําธุรกรรมที่ได้มาโดยทางอื่น
     (3) รับหรือส่งรายงานหรือข้อมูลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น หรือตามข้อตกลงที่ได้จัดทําขึ้นระหว่างหน่วยงานในประเทศหรือต่างประเทศ
           (3/1) กําหนดแนวทางปฏิบัติกํากับ ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ของผู้มีหน้าที่รายงานการทําธุรกรรมต่อสํานักงานตามหลักเกณฑ์วิธีการ และแนวปฏิบัติ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด 
           (3/2) ประเมินความเสี่ยงระดับชาติที่เกี่ยวกับการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายเพื่อจัดทํานโยบายและกําหนดยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายเสนอต่อคณะกรรมการและคณะรัฐมนตรี รวมทั้งแจ้งผลการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวไปยังหน่วยงานกํากับดูแลผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 13 และมาตรา 16 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการใดๆ ในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย 
           (3/3) จัดทําแผนปฏิบัติการร่วมกับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ที่จะดําเนินการให้เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย 
           (3/4) แจ้งรายชื่อผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 13 และมาตรา 16 ซึ่งไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ไปยังหน่วยงานกํากับดูแลผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 13 และมาตรา 16 เพื่อพิจารณาดําเนินการ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป 
           (3/5) ส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนเกี่ยวกับการให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย 
     (4) เก็บ รวบรวมข้อมูล สถิติตรวจสอบ และติดตามประเมินผลการดําเนินการตาม พระราชบัญญัตินี้และวิเคราะห์รายงานหรือข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการทําธุรกรรม และประเมินความเสี่ยง ที่เกี่ยวกับการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย 
     (5) เก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ 
     (6) จัดให้มีโครงการที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ การให้การศึกษา และฝึกอบรม ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ หรือช่วยเหลือหรือสนับสนุนทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชนให้มีการจัดโครงการดังกล่าว 
     (7) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น

 
 

VISITOR

  • 7
  • 3
  • 5
  • 1
  • 8
  • 2
  • 7
  • 6
  • 6
  • 1
  • 3
  • 0
  • 9
-->
  • Facebook
  • Twitter
  • instagram
  • Youtube
  • TikTok