Insite bigbanner

กองกฎหมาย

UPDATE 30 ก.ย. 2565

กองกฎหมาย

ตามระเบียบสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการบริหารราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๖๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕

ข้อ ๑๒ กองกฎหมาย มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

    (๑) ดำเนินการเกี่ยวกับงานยกร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนงานวิชาการและงานพัฒนากฎหมายในความรับผิดชอบของสำนักงาน ปปง.

    (๒) เสนอแนะและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในความรับผิดชอบของสำนักงาน ปปง.

    (๓) ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา งานคดีปกครอง และงานเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ปปง. หรือหน่วยงานอื่นและประชาชนที่ช่วยปฏิบัติงานตามหน้าที่และอำนาจ

    (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับงานวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการ ปปง.

    (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการธุรกรรม รวมทั้งเสนอหลักเกณฑ์ รูปแบบและวิธีพิจารณาของคณะกรรมการธุรกรรม

    (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการเปรียบเทียบ

    (๗) ดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลคดี การบริหารจัดการสำนวนคดี และการจัดทำสารบบและประมวลกฎหมายคำพิพากษาและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ปปง.

    (๘) ดำเนินการเกี่ยวกับงานแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

    (๙) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ ๑๓ ให้ผู้อำนวยการกองกฎหมายมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกองให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ในกองโดยมีผู้อำนวยการส่วนเป็นผู้ช่วยสั่งและควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของส่วน และให้เจ้าหน้าที่ในส่วนเป็นผู้ช่วย

ข้อ ๑๔ นอกจากหน้าที่และอำนาจตามข้อ ๑๒ ให้ส่วนราชการภายในของกองกฎหมายมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้

๑) ส่วนบริหารงานกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) งานอำนวยการ งานสารบรรณ และงานประชุมของกอง

    (๒) งานทะเบียน ประกาศ คำสั่ง และทะเบียนเอกสารลับของกอง

    (๓) งานบุคลากร งานพัฒนาระบบราชการ งานควบคุมการมาปฏิบัติราชการของกอง

    (๔) งานนโยบายและมาตรการ งานการเงิน และการงบประมาณของกอง

    (๕) งานพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง และสาธารณูปโภคของกอง

    (๖) งานรักษาความปลอดภัยทรัพย์สิน เอกสาร เอกสารลับ และอาคารสถานที่ของกอง

    (๗) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๒) ส่วนนิติการ ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การศึกษา ค้นคว้า พัฒนา และวิจัยกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

    (๒) การปรับและยกร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

    (๓) การให้คำปรึกษาและคำแนะนำ การตอบข้อหารือ ตลอดจนเสนอความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

    (๔) การให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการจัดทำข้อตกลงระหว่างหน่วยงานในประเทศหรือต่างประเทศที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

    (๕) การดำเนินการเกี่ยวกับการประมวลรวบรวมกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

    (๖) การดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการ ปปง.ที่เกี่ยวข้องกับงานกฎหมาย

    (๗) การดำเนินการในฐานะเป็นกลุ่มผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา

    (๘) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๓) ส่วนคดีและเปรียบเทียบ ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับคดีแพ่ง คดีอาญา หรืองานคดีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ปปง. ที่มิใช่การดำเนินการทางปกครอง

    (๒) การดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา

    (๓) การเสนอหลักเกณฑ์ รูปแบบ และวิธีพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบรวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการเปรียบเทียบ

    (๔) การประสานและติดตามผลการดำเนินการตามมติหรือข้อสั่งการของคณะกรรมการเปรียบเทียบ

    (๕) การศึกษา วิเคราะห์ และเสนอความเห็น เกี่ยวกับการดำเนินการเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการ ปปง. และคณะกรรมการเปรียบเทียบ

    (๖) การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือผู้ช่วยเหลือผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบซึ่งถูกฟ้องหรือถูกดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการปฏิบัติการตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย

    (๗) การดำเนินการเกี่ยวกับงานพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 

    (๘) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 ๔) ส่วนงานคณะกรรมการธุรกรรม ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การกำหนดหลักเกณฑ์ รูปแบบ และวิธีพิจารณาของคณะกรรมการธุรกรรม

    (๒) การดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรม

    (๓) การศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธุรกรรม

    (๔) การดำเนินการเกี่ยวกับงานวินิจฉัยชี้ขาดทางคดีของคณะกรรมการ ปปง.

    (๕) การดำเนินการกลั่นกรองและควบคุมการออกคำสั่งที่เกี่ยวเนื่องกับมติคณะกรรมการธุรกรรม

    (๖) การดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองมติคณะกรรมการธุรกรรม

    (๗) การดำเนินการกลั่นกรองสำนวนคดีอันเกี่ยวเนื่องกับคำสั่งหรือมติของคณะกรรมการธุรกรรม

    (๘) การประสานและติดตามผลการดำเนินการตามมติหรือข้อสั่งการของคณะกรรมการธุรกรรม

    (๙) การดำเนินการเกี่ยวกับการรายงานผลการปฏิบัติตามหมวด ๔ ว่าด้วยคณะกรรมการธุรกรรมต่อคณะกรรมการ ปปง. และคณะกรรมการ ป.ป.ช.               

    (๑๐) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๕) ส่วนข้อมูลคดี ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์ข้อมูลคดี การบริหารจัดการสำนวนคดี รวมถึงการพิจารณาจ่ายสำนวนคดี การจัดเก็บและรักษาเอกสารสำนวนคดี กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๒) การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำสารบบ คำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือคำสั่งอื่น ๆ ศึกษาและวิเคราะห์คำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือคำสั่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ปปง. เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๓) การดำเนินการเกี่ยวกับตรวจสอบประวัติบุคคลซึ่งถูกดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    (๔) การดำเนินการเกี่ยวกับตรวจสอบทะเบียนประวัติอาชญากร ประวัติบุคคลล้มละลาย ข้อมูลทรัพย์สินที่ถูกดำเนินการตามกฎหมายอื่นเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๕) การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลคดีในระบบสารสนเทศของสำนักงาน ปปง. เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๖) การดำเนินการเกี่ยวกับการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินในชั้นการพิจารณาของศาลเพื่อการแจ้งผลคดีให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    (๗) การบริหารจัดการระบบที่เกี่ยวข้องกับการกำกับตรวจสอบและประเมินผลสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา ๑๖

    (๘)  การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๖) ส่วนวินัยและคดีปกครอง ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การดำเนินการทางวินัย อุทธรณ์ และร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

    (๒) การดำเนินการเกี่ยวกับคดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ปปง.

    (๓) การดำเนินการเกี่ยวกับงานความรับผิดทางละเมิดตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

    (๔) การให้คำปรึกษาและคำแนะนำตลอดจนการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนและความรับผิดทางละเมิดตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ปปง.

    (๕) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

VISITOR

  • 7
  • 3
  • 5
  • 1
  • 8
  • 2
  • 5
  • 7
  • 5
  • 8
  • 4
  • 2
  • 7
-->
  • Facebook
  • Twitter
  • instagram
  • Youtube
  • TikTok