Insite bigbanner

กองความร่วมมือและพัฒนามาตรฐาน

UPDATE 30 ก.ย. 2565

กองความร่วมมือและพัฒนามาตรฐาน

ตามระเบียบสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการบริหารราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๖๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๕

ข้อ ๒๔ กองความร่วมมือและพัฒนามาตรฐาน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

    (๑) เสนอแนะและพัฒนามาตรการ แนวทาง รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อผลักดันการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๒) บูรณาการความร่วมมือ และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับองค์การระหว่างประเทศและต่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง รวมทั้งประสานการดำเนินคดีในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระหว่างประเทศ

    (๓) วางระบบ พัฒนามาตรฐาน และรวบรวมข้อมูลหรือสถิติที่เกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน การต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และการกระทำความผิดฐานฟอกเงินที่อาศัยเทคโนโลยี

    (๔) ส่งเสริม สร้างองค์ความรู้ และเผยแพร่ข้อมูล รวมทั้งประสานความร่วมมือเพื่อสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาสังคมและสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการรายงานและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อตกลงที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างหน่วยงานในประเทศหรือหน่วยงานต่างประเทศ

    (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ข้อ ๒๕ ให้ผู้อำนวยการกองความร่วมมือและพัฒนามาตรฐาน มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของกองให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ในกอง โดยมีผู้อำนวยการส่วนเป็นผู้ช่วยสั่งและควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของส่วนและให้เจ้าหน้าที่ในส่วนเป็นผู้ช่วย

 ข้อ ๒๖ นอกจากหน้าที่และอำนาจตามข้อ ๒๔ ให้ส่วนราชการภายในของกองความร่วมมือและพัฒนามาตรฐาน มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้

๑) ส่วนบริหารงานความร่วมมือและพัฒนามาตรฐาน ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) งานอำนวยการ งานสารบรรณ และงานประชุมของกอง

    (๒) งานทะเบียน ประกาศ คำสั่ง และทะเบียนเอกสารลับของกอง

    (๓) งานบุคลากร งานพัฒนาระบบราชการ การควบคุมการมาปฏิบัติราชการของกอง

    (๔) งานนโยบายและมาตรการ งานการเงิน และการงบประมาณของกอง

    (๕) งานพัสดุ จัดซื้อจัดจ้าง และสาธารณูปโภคของกอง

    (๖) งานรักษาความปลอดภัยทรัพย์สิน เอกสาร เอกสารลับ และอาคารสถานที่ของกอง

    (๗) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๒) ส่วนพัฒนาการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) เสนอแนะ พัฒนามาตรการ แนวทาง รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดันการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (มาตรฐานสากลด้าน AML/CFT)

    (๒) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT

    (๓) การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT

    (๔) การประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินมาตรการ แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT

    (๕) การประสานงาน การประชุม การเจรจา กับองค์กรและหน่วยงานต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับงานมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT รวมทั้งการกำหนดท่าทีของฝ่ายไทยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

    (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

๓) ส่วนพัฒนาฐานข้อมูลและมาตรฐานการดำเนินงาน ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การวางแผน จัดเก็บข้อมูลและสถิติ รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลด้าน AML/CFTของประเทศไทย ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน

    (๒) การศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและสถิติ และประเมินผลการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการจัดทำนโยบาย การปฏิบัติงานด้าน AML/CFT และการขับเคลื่อนการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล

    (๓) การประสานงานหน่วยงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำฐานข้อมูลด้าน AML/CFT และมาตรฐานการดำเนินงาน

    (๔) การเสนอแนะ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลด้าน AML/CFT และมาตรฐานการดำเนินงานด้าน AML/CFT

    (๕) การพัฒนาแนวปฏิบัติ และคู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับด้าน AML/CFT

    (๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๔) ส่วนส่งเสริมความร่วมมือและวิเทศสัมพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางวิชาการ การฝึกอบรม การสัมมนา การประชุมระหว่างประเทศ และความร่วมมือเกี่ยวข้องกับการพัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะของสำนักงาน ปปง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้าน AML/CFT และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    (๒) การประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศให้ครอบคลุมทั้งหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และที่ไม่ใช่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวในการอบรม ประชุม สัมมนาหรือดูงานในต่างประเทศ

    (๓) การจัดทำแผนและงบประมาณการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวของสำนักงาน ปปง.

    (๔) การดำเนินงานพิธีการให้การรับรองผู้แทนหน่วยงานต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ที่เข้าเยี่ยมคารวะ ประชุมหารือ หรือดูงาน ณ สำนักงาน ปปง.

    (๕) งานล่ามและแปลภาษาเพื่อใช้ในภารกิจ และสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

    (๖) การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมความร่วมมือด้านต่างประเทศ ทางเว็บไซต์ภาษาอังกฤษของสำนักงาน ปปง. และทางสื่อต่าง ๆ

    (๗) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๕) ส่วนความร่วมมือด้านคดี ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับหน่วยข่าวกรองทางการเงินต่างประเทศและเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานของหน่วยงานต่างประเทศ

    (๒) การเจรจา จัดทำ และพิจารณาร่างข้อตกลง และประมวลความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการลงนามในข้อตกลงที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างหน่วยงานในประเทศหรือหน่วยงานต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองทางการเงินกับต่างประเทศ

    (๓) การจัดทำ และตอบกลับคำร้องขอข้อมูลข่าวกรองทางการเงิน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยข่าวกรองทางการเงิน หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามข้อตกลงที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างหน่วยงานในประเทศหรือต่างประเทศ

    (๔) การประสานงาน การจัดทำและตอบกลับคำร้องขอข้อมูลอย่างเป็นทางการผ่านช่องทางความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญา เพื่อดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

    (๕) การสืบสวนและเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระหว่างประเทศ

    (๖) การปฏิบัติหรือประสานการปฏิบัติเพื่อการสืบสวน ตรวจค้น ยึดหรืออายัดทรัพย์สินและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระหว่างประเทศ

    (๗) การรับหรือส่งรายงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับคดีเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระหว่างประเทศ

    (๘) การดำเนินการเกี่ยวกับการขอหมายค้น หมายจับ การจับผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงิน และการประสานติดตามพยานในคดีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระหว่างประเทศ

    (๙) การจัดทำสารบบ บัญชี ทะเบียนควบคุมคดี และสถิติข้อมูลคดี รวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับการมอบหมายสำนวนคดีให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

    (๑๐) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๖)  ส่วนความร่วมมือพหุภาคีและทวิภาคี ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การประสานงานภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศระดับพหุภาคีและทวิภาคีของสำนักงาน ปปง.

    (๒) การศึกษา วิเคราะห์ จัดทำนโยบาย แผนงาน โครงการความร่วมมือของสำนักงาน ปปง.กับองค์การระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่างประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศระดับพหุภาคี และทวิภาคี รวมทั้งติดตาม ประเมิน และรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว

    (๓) การประชุมเจรจากับองค์การและหน่วยงานต่างประเทศ ตอบข้อหารือ รวมทั้งกำหนดท่าทีของฝ่ายไทยภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศระดับพหุภาคีและทวิภาคี เพื่อพัฒนาเครือข่ายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง 

    (๔) การจัดทำข้อตกลงความร่วมมือเกี่ยวกับด้าน AML/CFT ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศระดับพหุภาคีและทวิภาคีในประเด็นที่ไม่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองทางการเงิน

    (๕) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 ๗) ส่วนพัฒนามาตรฐานและเผยแพร่ความรู้ผู้มีหน้าที่รายงาน ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีหน้าที่รายงาน

    (๒) การจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการฝึกอบรม และดำเนินการเกี่ยวกับโครงการฝึกอบรมให้กับผู้มีหน้าที่รายงานให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน ปปง. และดำเนินการได้อย่างสอดคล้องตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT

    (๓) การศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา และเผยแพร่มาตรฐานการปฏิบัติงานด้าน AML/CFT ของผู้มีหน้าที่รายงาน                

    (๔) การเสนอแนะและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้าน AML/CFT แก่ผู้มีหน้าที่รายงาน

    (๕) การปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๘) ส่วนพัฒนามาตรฐานและเผยแพร่ความรู้หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ

    (๑) การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชนและภาคประชาสังคม

    (๒) การจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการฝึกอบรม และดำเนินการเกี่ยวกับโครงการฝึกอบรมให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง เพื่อสนับสนุนงานของสำนักงาน ปปง. และดำเนินการได้อย่างสอดคล้องตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT

    (๓) การศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา และเผยแพร่มาตรฐานการปฏิบัติงานด้าน AML/CFTของหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม

    (๔) การเสนอแนะ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานหรือแนวทางการดำเนินการด้าน AML/CFT แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม

    (๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย



VISITOR

  • 7
  • 3
  • 5
  • 1
  • 8
  • 2
  • 8
  • 5
  • 5
  • 5
  • 5
  • 4
  • 9
-->
  • Facebook
  • Twitter
  • instagram
  • Youtube
  • TikTok